ที่ปัดน้ำฝน ส่วนเล็กๆ ของรถยนต์ที่ใช้งานไม่บ่อยนัก แต่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อการทำให้วิสัยทัศน์การมองเห็นในการขับรถดีขึ้น
ส่วนประกอบหลักของที่ปัดน้ำฝน มีดังนี้
1. มอเตอร์ไฟฟ้า
ตัวมอเตอร์ไฟฟ้าหรือมอเตอร์ที่ปัดน้ำฝนส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานยาวนานมีความทนทานสูง ไม่ค่อยจะเกิดการเสียหายได้ง่ายนัก แต่ก็ควรเติมจาระบีช่วยในการหล่อลื่นลดการสึกหรอของเฟือง และตรวจเช็คน็อตยึดต่างๆ ว่ามีการคลายตัวหรือไม่ แล้วใช้พวกสเปรย์กันความชื้น ฉีดตรงแกนกลางเพื่อช่วยป้องกัน สนิม และช่วยหล่อลื่นตัวบูชเพราะสเปรย์พวกนี้จะมีคุณสมบัติในการแทรกซึมสูง
2. ก้านที่ปัดน้ำฝน
จุดที่ควรดูแลตรวจเช็ค คือ
– จุดยึดโคนก้านปัดเข้ากับปุ่มหมุนจากมอเตอร์ ซึ่งมักจะมีตัวน็อตยึด
– ข้อต่อของใบปัดที่ยึดเข้ากับก้านปัด
3. ยางใบปัดน้ำฝน
ลักษณะของยางใบปัดที่ดี ควรมีดังนี้
– ทนทานต่อสิ่งสกปรก และสภาพแวดล้อม เช่น ควัน ไอเสีย ฝนกรด
– ทนทานต่อการสึกหรอมีอายุการใช้งานยาวนาน
– ทนทานต่อการเปลี่ยนรูป ไม่แข็งตัว หรืออ่อนตัวจากความร้อน
– ไม่มีเสียงเสียดสีกับกระจกเวลาเลื่อนตัวไปมา
ที่ปัดน้ำฝน ยางปัดน้ำฝนเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ก็อาจมีการเสื่อมสภาพ ซึ่งเนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้
– ผิวสัมผัสส่วนปลายมีการสึกหรอ จากการทำงานปกติของใบปัดน้ำฝน
– มีสิ่งสกปรก และหินทรายละเอียดอยู่ระหว่างยางใบปัดกับกระจกทำให้ยางปัดน้ำฝนสึกหรอ
– เมื่อใบปัดน้ำฝนผ่านการใช้งานนานๆ ยางใบปัดน้ำฝน จะแข็งตัว การยืดหยุ่นจะลดลง และความบกพร่องในการ ปัดจะเกิดขึ้น เนื่องจากหน้าสัมผัสระหว่างยางใบปัดกับ กระจกไม่ดี รวมทั้งอาจเกิดจากใบปัดน้ำฝนเกิดอาการ สั่นเต้น หรืออาการอื่นๆ ถ้าพบอาการเหล่านี้ควรเปลี่ยนยางปัดน้ำฝนใหม่
แม้จะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของรถยนต์ แต่ก็นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก และไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะมีผลต่อวิสัยทัศน์ในการมองเห็นเมื่อขับรถ ดังนั้น ซ่อมบำรุงส่วนอื่นๆ แล้ว ก็อย่าลืมดูแลที่ปัดน้ำฝนให้อยู่ในสภาพดีเสมอด้วย