เบรก เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการใช้รถทุกชนิด และจะเกิดความผิดปกติไม่ได้ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ และความสูญเสียได้
เบรกในปัจจุบันนี้นิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ
1. ดรัมเบรก เป็นระบบเบรกรุ่นเก่าที่ยังมีใช้อยู่ในรถเก๋งบางรุ่น ในส่วนของดรัมเบรกจะมีลักษณะเป็นแผ่นเบรกสองแผ่นดันบริเวณกระทะเบรกเพิ่มความเสียดทานเพื่อช่วยในการหยุดรถ หรือชะลอรถ การใช้ดรัมเบรกจะใช้ครบทั้ง 4 ล้อในตอนแรก และล้อทั้ง4 ล้อในวงจรเบรกจะทำงานอย่างสัมพันธ์กัน
2. ดิสก์เบรก เป็นระบบเบรกที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน อาจจะเป็นระบบดิสก์เบรกทั้ง 4 ล้อ หรือเบรก 2 ล้อหน้าเป็นดิสก์เบรก 2 ล้อหลังเป็นดรัมเบรก ระบบ การทำงานของดิสก์เบรกจะแยกทำงานกันคนละส่วนเป็นอิสระต่อกัน ระบบนี้เป็นระบบในรถรุ่นใหม่ รถรุ่นเก่ายังคงเป็นระบบที่ทำงานร่วมกัน
น้ำมันเบรกเป็นส่วนประกอบสำคัญอันหนึ่งในการเบรก ฉะนั้นจึงควรตรวจ สอบให้อยู่ในระดับที่พอดีเสมอ หากปล่อยให้น้ำมันเบรกแห้งหรือรั่วไหลออกไป จนหมดหรือ เหลือน้อยการเบรกอาจไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ดังนั้น ควรหมั่นเติมน้ำมันเบรกอยู่เสมอ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เปิดฝากระโปรงรถยนต์
2. ถ้วยน้ำมันเบรกจะติดอยู่บริเวณชิดกับตัวถังรถในส่วนที่ติดกับกระจก ให้เช็กระดับของ น้ำมันเบรกในถ้วยว่าอยู่ในระดับไหน ถ้าระดับน้ำมันเบรกอยู่ MAX ไม่ต้องเติมน้ำมันเบรก MIN ต้องเติมน้ำมันเบรกให้ถึงเส้น MAXห้ามเติมน้ำมันเบรกเกินระดับ MAX เพราะจะทำให้น้ำมันเบรกกระฉอกเวลารถวิ่ง ซึ่งน้ำ มันเบรกจะทำปฏิกิริยากับสีรถหรือบริเวณใกล้เคียงให้เสียหายได้
3. ก่อนเปิดฝาน้ำมันเบรกให้เช็ดทำความสะอาดบริเวณฝาปิด-เปิด ให้สะอาดเพื่อป้องกันเม็ดทรายหรือละอองต่างๆตกลงไป ซึ่งอาจทำให้ระบบเบรกเสียหายได้
4. เติมน้ำมันเบรกลงไปในถ้วยตามระดับในข้อที่ 2
5. ปิดฝาให้เรียบร้อย อย่าลืมก่อนปิดฝาต้องทำความสะอาดบริเวณฝาปิดถ้วยน้ำมันเบรกด้วยมีรถยนต์รุ่นเก่าบางรุ่น ถ้วยน้ำมันเบรกจะติดอยู่บริเวณหัวเก๋งด้านคนขับก็ใช้วิธีการเติมแบบเดียวกัน
การ ดูแลรักษาระดับน้ำมันเบรกและเติมน้ำมันเบรกให้ดูทุกๆ 3 วัน อย่าทิ้งให้นาน เพราะปริมาณน้ำมันเบรกจะลดลงในการใช้งานทุกครั้งจึงต้องหมั่นดูแล และควรมีการเช็กเมื่อรถยนต์วิ่งได้ประมาณ 10,000 กิโลเมตร และเช็กทุก 10,000 กิโลเมตร จนถึง 40,000 กิโลเมตร จึงถ่ายน้ำมันเบรกเก่าออกแล้วเติมน้ำมันเบรกใหม่ลงไปแทนที่
เบรกเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้น อย่าละเลยในการดูแลประสิทธิภาพของเบรกอยู่เสมอ และอย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยด้วยนะครับ